วันพฤหัสบดีที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ลูกแรดเตรียมพร้อมล่าเหยื่อ

ประโยชน์ที่ได้รับจากการเรียนวิชาเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
จากการเรียนวิชาเตรียมฝึกประสบการณ์ชีวิต นักศึกษาได้รับความรู้อย่างมากจากอาจารย์แต่ละท่านที่สอนและได้รับความรู้อย่างดีจากท่านวิทยากรผูที่เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น
1.ด้านการบริหารการเงินส่วนบุคคล สามารถนำความรู้ที่ได้จากการบริหารจัดการกับการใช้เงินในชีวิตประจำวัน มีการวางแผนจัดการการเงินที่ดีให้ผลตอบแทนจากการลงทุนและจัดเก็บเงินใช้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.ด้านภาษาอังกฤษ ซึ่งนักศึกษาทุกคนทราบดีอยู่แล้วว่าภาษาอังกฤษเป็นภาษาสากล จึงจำอย่างยิ่งในการทำงานทุกสาขาอาชีพคำแนะนำจากท่านวิทยากรจึงเป็นแนวทางให้เราจะสามารถพัฒนาภาษอังกฤษได้
3.ได้พัฒนาตนเองให้มีความรับผิดชอบในการทำงานมากขึ้น รับผิดชอบในงานที่เราได้รับมอบหมายจากอาจารย์ การอยู่ในสังคมต้องรู้จักวางตัวให้ถูกต้อง มีมารยาททางสังคมประพฤติตัวให้เหมาะสมกับสังคม เพราะวิชาเตรียมฝึกนี้ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการแต่งกาย ทรงผม การใช้คำพูด การมีสัมมาคราวะนักศึกษาได้รับความรู้อย่างมากและสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันและอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

4.เกิดทักษะด้านการใช้เทคโนโลยีต่างๆให้ทันสมัยมายิ่งขึ้น เพราะโลกในปัจจุบันได้ขยายมากอย่างกว้างขวางการใช้คอมพิวเตอร์จึงเป็นสิ่งจำเป็นมากขึ้นในชีวิตของเราเพราะเทคโนโลยีนนี้สามารถให้ข้อมูลอย่างครบถ้วน รวมไปถึงโปรแกรมการใช้งานต่างๆเราจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องใช้ในการประกอบอาชีพในทุกๆสาขาอาชีพอีกด้วย

ความรู้ต่างๆเหล่านี้จำเป็นอย่างยิ่งในการพัฒนาตนเองให้มีความรู้ความสามารถและเตรียมความพร้อมให้กับนักศึกษาให้มีความมั่นใจที่จะไปประกอบวิชาชีพหลังจากจบการศึกษาและความรู้ต่างๆจากการเรียนก็จะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตทั้งในปัจจุบันและในอนาคตได้


วันอังคารที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2552

DTS 10 09/9/52


Sorting

ถ้าเราจำเป็นต้องเก็บและค้นหาข้อมูลอยู่เป็นประจำ การเก็บข้อมูลเราก็ต้องจัดเก็บให้เป็นระเบียบ และง่ายในกระบวนการค้นหาข้อมูลเพื่อนำมาใช้ใหม่เช่นการจัดเรียงหมวดหมู่ของหนังสือในห้องสมุด ต้องมีการจัดการกับรายละเอียดของหนังสือต่างๆ ให้เป็นแฟ้มข้อมูลที่เรียงลำดับตามตัวอักษร เป็นต้น

การเรียงข้อมูล สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทด้วยกันคือ
การเรียงข้อมูลแบบภายใน
(Internal Sorting) คือ การเรียงลำดับข้อมูล โดยทั้งหมดต้องจัดเก็บอยู่ในหน่วยความจำหลัก (main memory) ที่มีการเข้าถึงข้อมูลได้เร็ว โดยไม่จำเป็นต้องใช้หน่วยความจำสำรอง เช่น ดิสค์ หรือเทปสำหรับการจัดเก็บชั่วคราว ใช้ในกรณีที่ข้อมูลไม่มากเกินกว่าพื้นที่ความจำที่กำหนดให้กับผู้ใช้แต่ละราย
การเรียงข้อมูลแบบภายนอก (External Sorting) คือ การ เรียงลำดับข้อมูลที่มีขนาดใหญ่เกินกว่าที่จะสามารถเก็บไว้ใน พื้นที่ความจำหลักที่กำหนดให้ได้ในคราวเดียว ดังนั้นข้อมูล ส่วนมากต้องเก็บไว้ในไฟล์ข้อมูลที่อยู่บนดิสค์ เทป เป็นต้น สำหรับการเรียงข้อมูลแบบภายนอกจะต้องคิดถึงเวลาที่ใช้ใน การถ่ายเทข้อมูลจากหน่วยความจำชั่วคราวกับหน่วยความจำหลัก ด้วยเช่นกัน
Bubble Sortหลักของการเรียงแบบนี้คือ จะเปรียบเทียบและแลกเปลี่ยนข้อมูล 2 ค่าที่อยู่ติดกันในลักษณะที่เรากำหนด เช่น จากน้อยไปมาก หรือจากมากไปน้อย โดยจะทำการเปรียบเทียบข้อมูลทั้งชุดจนกว่าจะมีการเรียงตามลำดับทั้งหมดขั้นตอนการทำงานของอัลกอริทึม
Quick Sortการเรียงลำดับในลักษณะนี้ เป็นการปรับปรุงมาจากการเรียงลำดับแบบ Bubble เพื่อให้การเรียงลำดับเร็วขึ้น วีธีนี้เหมาะกับการเรียงข้อมูลที่มีจำนวนมาก หรือมีขนาดใหญ่ และเป็นวิธีการเรียงข้อมูลที่ให้ค่าเฉลี่ยของเวลาน้อยที่สุดเท่าที่ค้นพบวิธีหนึ่งการเรียงลำดับแบบ Quick Sortจะเป็นการเปรียบเทียบสมาชิกที่ไม่อยู่ติดกัน โดยกำหนดข้อมูลค่าหนึ่ง เพื่อแบ่งชุดข้อมูลที่ต้องการเรียงลำดับออกเป้น 2 ส่วน จากนั้นก็จะทำการแบ่งย่อยชุดข้อมูล 2 ส่วนนั้นลงไปอีก ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆจนข้อมูลแต่ละชุดมีสมาชิกเหลือเพียงตัวเดียวและทำให้ชุดข้อมูลทั้งหมดมีการเรียงลำดับ
Insertion SortInsertion Sort การเรียงลำดับที่ง่ายไม่ซับซ้อน เป็นการนำข้อมูลใหม่เพิ่มเข้าไปในชุดข้อมูลที่มีการเรียงลำดับอยู่แล้ว โดยข้อมูลใหม่ที่นำเข้ามาจะแทรกอยู่ในตำแหน่งทางขวาของชุดข้อมูลเดิม และยังคงทำให้ข้อมูลทั้งหมดมีการเรียงลำดับวิธีนี้เริ่มต้นโดยการเรียงลำดับข้อมูล 2 ตัวแรกของชุดข้อมูล หลังจากนั้นเพิ่มข้อมูลตัวที่ 3 เข้ามา จะมีการเปรียบเทียบค่ากับข้อมูล 2 ตัวแรก และแทรกอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม และสำหรับการเพิ่มข้อมูลตัวต่อๆไปก็จะทำเหมือนเดิมจนข้อมูลทุกตัวมีการเรียงลำดับขั้นตอนการทำงานของอัลกอริทึม

DTS 09 02/9/52


Graph

กราฟ เป็นโครงสร้างข้อมูลที่มีโครงสร้างประกอบไปด้วยโหนด (Vertices) และการเชื่อมต่อ(Edge)
ลักษณะการเชื่อมต่อจะแตกต่างจากโครงสร้างข้อมูลแบบอื่น ๆ คือ สามารถที่จะเชื่อมต่อแต่ละโหนดได้หลากหลาย และทิศทางของการเดินทางสามารถเชื่อมต่อได้หลากหลายเช่นกันกราฟ เป็นโครงสร้างข้อมูลที่มีโครงสร้างประกอบไปด้วยโหนด (Vertices) และการเชื่อมต่อ(Edge)
ลักษณะการเชื่อมต่อจะแตกต่างจากโครงสร้างข้อมูลแบบอื่น ๆ คือ สามารถที่จะเชื่อมต่อแต่ละโหนดได้หลากหลาย และทิศทางของการเดินทางสามารถเชื่อมต่อได้หลากหลายเช่นกัน

Abstract Data Type ของกราฟAbstract Data Type ของกราฟ
รูปแบบข้อมูล (Element): ข้อมูลที่จัดเก็บต้องเป็นชนิดเดียวกัน เนื่องจากใช้อธิบายรูปแบบความสัมพันธ์ของโหนดกับการเชื่อมต่อ
รูปแบบโครงสร้าง (Srtucture): ความสัมพันธ์ระหว่างโหนดและการเชื่อมต่อ เป็นลักษณะ หนึ่งต่อหนึ่ง (one to one) คือ หนึ่งคู่ของการเชื่อมต่อจะต้องเชื่อมต่อด้วยเส้นเชื่อมต่อเพียงหนึ่งเส้น
การดำเนินงาน (Operation): มีการดำเนินการพื้นฐานที่ใช้กับโหนดและการเชื่อมต่อพร้อมทั้งการค้นหาโหนดที่ต้องการ 5 การดำเนินการดังนี้
การดำเนินการเพิ่มโหนด
การดำเนินการลบโหนด
การดำเนินการเพิ่มเส้นเชื่อมต่อ
การดำเนินการลบเส้นเชื่อมต่อ
การดำเนินการค้นหาโหนด
รูปแบบข้อมูล (Element): ข้อมูลที่จัดเก็บต้องเป็นชนิดเดียวกัน เนื่องจากใช้อธิบายรูปแบบความสัมพันธ์ของโหนดกับการเชื่อมต่อ
รูปแบบโครงสร้าง (Srtucture): ความสัมพันธ์ระหว่างโหนดและการเชื่อมต่อ เป็นลักษณะ หนึ่งต่อหนึ่ง (one to one) คือ หนึ่งคู่ของการเชื่อมต่อจะต้องเชื่อมต่อด้วยเส้นเชื่อมต่อเพียงหนึ่งเส้น
การดำเนินงาน (Operation): มีการดำเนินการพื้นฐานที่ใช้กับโหนดและการเชื่อมต่อพร้อมทั้งการค้นหาโหนดที่ต้องการ 5 การดำเนินการดังนี้
-การดำเนินการเพิ่มโหนด
-การดำเนินการลบโหนด
-การดำเนินการเพิ่มเส้นเชื่อมต่อ
-การดำเนินการลบเส้นเชื่อมต่อ
-การดำเนินการค้นหาโหนด

วันพฤหัสบดีที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2552

DTS 08 26/8/52

Tree

นิยามทรี
นิยามทรีด้วยนิยามของกราฟทรี คือ กราฟที่ต่อเนื่องโดยไม่มีวงจรปิด (loop) ในโครงสร้าง โหนดสองโหนดใด ๆ ในทรีต้องมีทางติดต่อกันทางเดียวเท่านั้น และทรีที่มี N โหนด ต้องมีกิ่งทั้งหมด N-1 เส้น

การเรียกชื่อองค์ประกอบของทรี
แต่ละโหนดจะมีความสัมพันธ์กับโหนดในระดับที่ต่ำลงมา หนึ่งระดับได้หลาย ๆ โหนด
เรียกโหนดดังกล่าวว่า โหนดแม่ (Parent orMother Node)
โหนดที่อยู่ต่ำกว่าโหนดแม่อยู่หนึ่งระดับเรียกว่า โหนดลูก (Child or Son Node)
โหนดที่อยู่ในระดับสูงสุดและไม่มีโหนดแม่เรียกว่า โหนดราก (Root Node)
โหนดที่มีโหนดแม่เป็นโหนดเดียวกันเรียกว่า โหนดพี่น้อง (Siblings)
โหนดที่ไม่มีโหนดลูก เรียกว่าโหนดใบ (Leave Node)
เส้นเชื่อมแสดงความสัมพันธ์ระหว่างโหนดสองโหนดเรียกว่า กิ่ง (Branch)

แทนทรีด้วยไบนารีทรี
เป็นวิธีแก้ปัญหาเพื่อลดการ สิ้นเปลืองเนื้อที่ในหน่วยความจำก็คือกำหนดลิงค์ฟิลด์ให้มีจำนวนน้อยที่สุดเท่าที่จำเป็นเท่านั้น โดยกำหนดให้แต่ละโหนดมีจำนวนลิงค์ฟิลด์สองลิงค์ฟิลด์
-ลิงค์ฟิลด์แรกเก็บที่อยู่ของโหนดลูกคนโต
-ลิงค์ฟิลด์ที่สองเก็บที่อยู่ของโหนดพี่น้องที่เป็นโหนดถัดไป
โหนดใดไม่มีโหนดลูกหรือไม่มีโหนดพี่น้องให้ค่าพอยน์เตอร์ในลิงค์ฟิลด์มีค่าเป็น Null

DTS 07 05/8/52


Queue

คิว (Queue) เป็นโครงสร้างข้อมูลแบบเชิงเส้นหรือลิเนียร์ลิสต์ซึ่งการเพิ่มข้อมูลจะกระทำที่ปลายข้างหนึ่งซึ่งเรียกว่า ส่วนท้ายหรือเรียร์ (rear) และการนำข้อมูลออกจะกระทำที่ปลายอีกข้างหนึ่งซึ่งเรียกว่า ส่วนหน้า หรือฟรอนต์(front)
ลักษณะการทำงานของคิวเป็นลักษณะของการเข้าก่อนออกก่อนหรือที่เรียกว่า FIFO (First In First Out)
การทำงานของคิว
การใส่สมาชิกตัวใหม่ลงในคิวเรียกว่า Enqueue ซึ่งมีรูปแบบคือenqueue (queue, newElement)
หมายถึง การใส่ข้อมูล newElement ลงไปที่ส่วนเรียร์ของคิว
การนำสมาชิกออกจากคิว เรียกว่า Dequeue ซึ่งมีรูปแบบคือ dequeue (queue, element)
หมายถึง การนำออกจากส่วนหน้าของคิวและให้ ข้อมูลนั้นกับ element
การนำข้อมูลที่อยู่ตอนต้นของคิวมาแสดงจะเรียกว่า Queue Front แต่จะไม่ทำการเอาข้อมูลออกจากคิว
การนำข้อมูลที่อยู่ตอนท้ายของคิวมาแสดงจะ เรียกว่าQueue Rear แต่จะไม่ทำการเพิ่มข้อมูลเข้าไปในคิว